ร้อยเอ็ด “ชูหอโหวดใหญ่” สถานที่เปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70
/////เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 19.00 น. ที่ลานสาเกตนคร หน้าหอโหวด สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดการจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุแระสงค์ของการจัดงาน พร้อมนายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวให้การต้อนรับ
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวชื่นชมคณะกรรมการจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง การจัดการศึกษานั้นมีเป้าหมายสูงสุดคือ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา จึงเป็นหน้าที่ ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ต้องจัดหาประสบการณ์ที่ดี ให้แก่ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ และถึงกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในแสดงออกในทงที่ดี ทั้งในและนอกสถานศึกษา การจัดการ
แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งที่สะท้อนให้เห็นด้านต่าง ๆ แสดงถึงความสามารถของนักเรียนในด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การให้เกียรติผู้อื่นโดยมิได้มุ่งผลการแข่งขันอย่างเดียว นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมจำนวนมาก ทั้งระดับโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัด จนถึงระดับภาค
ด้าน นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า จัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนในนามกระทรวงศึกษาธิการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงริเริ่มการจัดงานศิลปหัตถกรรมสืบสานถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง “ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะแนะนำชักจูงให้เด็กชายหญิงในสมัยนั้น ได้เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นทางเลี้ยงอาชีพต่าง ๆ กันการที่เด็กทั้งหลาย พากันนิยมในการเป็นเสมียนหรือเข้าทำราชการให้น้อยลง ” และสานต่อเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษาที่มุ่งหวังให้ การจัดงานศิลปหัตถกรรมของนักเรียน เป็นเวทีให้นักเรียนแสดงออกถึงความรู้ความสามารถ พัฒนาทักษะด้านวิชาการ วิชาชีพ ดนตรี นาฎศิลป์ ศิลปะ ทักษะชีวิต โดยเน้นหลักกิจกรรมพัฒนา สมอง จิตใจการลงมือปฏิบัติ และสุขภาพ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะฝีมือในด้านที่ถนัดพัฒนาให้เกิดความเป็นเลิศ
เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต และเผยแพร่ผลงานสู่สายตาสาธารณชน โดยการจัดงานได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบ และวิธีการจัดการแข่งขันให้เป็นปัจจุบัน ไม่เน้นที่การแพ้ ชนะ แต่เน้นการพัฒนา การแสดงออกให้เต็มกำลัง ให้เกียรติกับตนเอง และเพื่อนที่ร่วมกิจกรรม รวมถึงการพัฒนาความสามารถในการควบคุมตนเองในสถานการณ์นั้น ๆ สอดรับกับนโยบายและบริบทการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนไป สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
ของกระทรวงศึกษาธิการ และมีการให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของแต่ละภูมิภาค และการส่งเสริมSOFT POWER ในบริบทของแต่ท้องถิ่น ผ่านการแสดงในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการนำเสนอนิทรรศการที่มีชีวิต โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น จำนวน 78 เขตพื้นที่
การศึกษาใน 20 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมกิจกรรมระหว่างวันที่ 29-31 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2566 ในครั้งนี้
ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรร้อยเอ็ด ส่วนราชการต่าง ๆ และผู้บริหาร ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษานักเรียน จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมจัดกิจกรรม โดยใช้ลานสาเกตนคร หน้าหอโหวด สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เป็นสถานที่เปิดงานอย่างยิ่งใหญ่ ดังคำขวัญเมืองร้อยเอ็ดที่ว่า “สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัยเขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ”
หลังจากนั้นท่านประธานในพิธีเปิดงานได้มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ให้การสนับสนุนในการจัดงานในครั้งนี้
ภายใต้ชื่องาน “หัตถกรรมศิลป์ล้ำสมัย เทคโนโลยีไทยล้ำหน้า สืบสานภูมิปัญญาไทยก้าวหน้าสู่สากล” และมีพิธีมอบธงเจ้าภาพจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนให้กับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะได้เป็นเจ้าภาพในครั้งที่ 71 ประจำปีการศึกษา 2566 ต่อไป /////
ข่าว : ชาตรี ทวีนาท
ภาพ : ประกอบ จันทร์ประโคน